JAPANESE CLASS

นักเรียนที่เรียนภาษาญี่ปุ่นต่างก็มีจุดมุ่งหมายและความฝันแตกต่างกันไป บ้างก็เรียนเพื่อเป็นใบเบิกทางสู่อาชีพในฝัน บ้างก็เพื่อต้องการอัพสกิลภาษาของตัวเองให้แข็งแรงขึ้นเพื่อการพูดคุยกับเพื่อนญี่ปุ่น ดูหนังหรือมังงะที่ชอบ ฟังเพลงที่ใช่ บ้างก็ต้องการศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่น จนไปถึงเพื่อเพิ่มทักษะภาษาเพื่อเพิ่มเงินเดือนของตัวเอง

แต่ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุผลใดก็ตามนอกเหนือจากการเรียนภาษาญี่ปุ่นแล้ว นักเรียนทุกคนจะต้องมีความเข้าใจในกฎและแนวความคิดของคนญี่ปุ่นด้วย เพื่อที่จะสามารถใช้ชีวิตในญี่ปุ่นและทำตามความฝันนั้นๆได้

กฎที่บริษัทหรือคนทำงานชาวญี่ปุ่นนิยมยึดถือปฏิบัติกันได้แก่ Horenso, 5S และ 5K ไปดูรายละเอียดกันเลย

HoRenSo "โฮเรนโซ" (報連相) – ปรัชญาของคนญี่ปุ่นที่ช่วยพัฒนาการสื่อสารระหว่างหัวหน้าและลูกน้องให้ราบรื่น

Ho (報告) - Houkoku "โฮกะกุ" คือ การรายงาน ซึ่งการรายงานนั้นจะต้องเน้นเรื่อง ความถูกต้อง รวดเร็วและข้อมูลที่ครบถ้วน

"ถ้าเราอยู่ในองค์กรญี่ปุ่น เราควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้มาก เพราะวัฒนธรรมการทำงานของคนญี่ปุ่น ชอบที่จะให้เรารายงาน ความคืบหน้าของงานในทุกๆเรื่อง อาจจะผ่านการสื่อสารในที่ประชุม หรือ ผ่านการส่งอีเมลล์ โดยเน้นการสื่อสารแบบทั่วถึง เช่น การส่งอีเมลล์ถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดทุกครั้งที่มีการรายงานให้รับรู้รับทราบกระบวนการทำงานร่วมกัน ถ้างานนั้นมีการสื่อสารที่ผิดพลาดหรือเข้าใจไม่ตรงกัน ก็จะได้มีการบอกกล่าวร่วมกัน และแก้ปัญหาตั้งแต่เบื้องต้น โดยญี่ปุ่นเป็นชาติที่เน้นการทำงานเป็นทีมอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ หัวหน้าญี่ปุ่นมักจะเป็นฝ่ายรอ ให้ลูกน้องคนไทยรายงานในสิ่งที่ตนได้รับมอบหมาย มากกว่าที่หัวหน้าจะเป็นฝ่ายติดตามงาน ดังนั้นทางผู้เขียนจึงอยากจะแนะนำการสื่อสารระหว่างหัวหน้าและลูกน้องให้มีประสิทธิภาพ

Ren (連絡) - Renraku "เรนระกุ" คือ การติดต่อ โดยจะต้องติดต่อกับผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องนั้น 

"การทำงานที่ดีนั้นต้องทำงานแบบประสานงานร่วมกันหลายฝ่าย เมื่อลูกน้องได้รับมอบหมายจากหัวหน้างานแล้ว ควรจะดำเนินงานติดต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานนั้น และมีการชี้แจงให้หัวหน้างานทราบความคืบหน้าของงานเป็นระยะ เนื่องจากกระบวนการนี้ เป็นกระบวนการลำดับที่2 ที่ฝ่ายลูกน้องจะต้องทำงานตามขั้นตอนเพื่อให้งานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ และควรจะ action  อย่างทันถ่วงทีที่ได้รับมอบหมาย"

So (相談) - Sodan "โซดัน" คือ การปรึกษาหารือ 

"เป็นการปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น  ในกรณีต้องการระดมสมองของทีม  โดยลูกน้องควรจะมีการสรุปประเด็น พร้อมกับเตรียมนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาไว้ด้วย หรือในกรณีเกิดข้อสงสัยปัญหาต่างๆ โดยกระบวนการปรึกษาที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารระหว่างหัวหน้าและลูกน้องอาจมีลักษณะดังนี้ ปรึกษาในกรณีเกิดอุปสรรคหรือปัญหา ปรึกษาในกรณีที่ต้องการระดมสมองหรือไอเดีย และปรึกษาเพื่อยอมรับฟังข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอของแต่ละฝ่าย"

**ขอขอบคุณข้อมูลบทความของคุณเอื้อมพร วรรณยิ่ง  จาก HR NOTE.asia

5S หรือ 5ส. สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย 

สะสาง 整理(せいり) "เซริ"

แยกของไม่จำเป็นต้องใช้งาน ออกจากของที่ต้องใช้งาน

いらないものを捨てること。

สะดวก 整頓(せいとん)"เซตัน"

วางของที่ต้องใช้งาน ให้เกิดความสะดวก กำหนดที่วางมีป้ายบอกชัดเจน

決められた物を決められた 場所に置き、いつでも取り出せる 状態にしておくこと。

สะอาด 清掃(せいそう)"เซโซ"

การทำความสะอาดให้สะอาด ไร้ฝุ่นผง

常に掃除をすること。 

สุขลักษณะ 清潔(せいけつ)"เซเก๊ตสึ"

จัดสถานที่ทำงานให้เกิดสุขลักษณะ โดยทำ 3ส.ข้างต้นให้สม่ำเสมอ

3S(上の整理・整頓・清掃)を維持し職場の衛生を保つこと。

สร้างนิสัย 躾(しつけ)"ชิทสึเกะ"

สร้างนิสัยความเคยชิน ให้สามารถปฏิบัติ วิธีการทำ 5ส. ตลอดไปอย่างต่อเนื่อง

決められたルール・手順を  正しく守る習慣をつけること。

5K สำคัญที่ใช้ในการทำงาน (仕事は5つの気が大切) 

จริงจัง เอาจริง  本気 (Honki) "ฮนกิ"

จริงจัง ตั้งใจ ไม่ปล่อยปละละเลย ต่อสิ่งที่ควรทำ

手を抜いたり まあまあでなく いつも真剣に!

มีความแข็งแรง 元気 (Genki) "เกงกิ"

ดูแลรักษาสภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง ร่าเริง พร้อมก้าวไปข้างหน้า

体調を管理いつも明るく 前向きに!

มีความอดทน 根気 (Konki) "คนกิ"

อดทนตั้งใจ ขยันหมั่นเพียร ไม่ยอมแพ้ต่อผลลัพธ์ที่ไม่คาดคิด

結果が出なくても あきらめずにコツコツ!

มีความกล้าหาญ 勇気 (Yuki) "ยูกิ"

กล้าที่จะก้าว...สู่ความท้าทายใหม่ๆ กระตือรือร้นต่อหน้าที่ ไม่หนีต่อความยากลำบาก

困難 から逃げず 積極的にチャレンジを!

มีความตั้งใจ やる気 (Yaruki) "ยารุกิ"

มุ่งมั่นตั้งใจ ไม่เกี่ยงงาน ไม่ตัดสินเรื่องราว โดยใช้ความรู้สึกชอบหรือเกลียด

好き嫌いで判断せず どんなことでも 意欲的に取り組む