KANJI (漢字)

ตัวอักษรคันจิประมาณ 2,000 ตัวนั้น มีความจำเป็นในการอ่านหนังสือพิมพ์และการใช้งานในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กญี่ปุ่นต้องเรียนรู้อักษรคันจิในช่วงชั้นประถมศึกษา มัธยมต้น และมัธยมปลาย ในขณะที่ชาวต่างชาติต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการเรียนรู้อักษรคันจิที่มีอยู่มากมายเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว

หลังจากจบการศึกษาในชั้นปีแรกของระดับประถมศึกษา นักเรียนชาวญี่ปุ่นจะได้เรียนรู้ “เคียวอิกุ คันจิ” (“kyoiku kanji” 教育漢字 = อักษรคันจิเพื่อการศึกษา) ทั้ง 80 ตัว ซึ่งเป็นตัวอักษรภาษาจีนที่ถูกกำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่น และเมื่อจบการศึกษาระดับชั้นประถมแล้ว พวกเขาจะได้เรียนรู้อักษรคันจิทั้งหมดเป็นจำนวน 1,006 ตัว หรืออาจมากกว่านั้น

ตัวอักษรคันจิ 漢字 (Kanji)

คันจิ (ญี่ปุ่น: 漢字 Kanji ) เป็นอักษรจีนที่ใช้ในระบบการเขียนภาษาญี่ปุ่นในปัจจุบัน จัดอยู่ในประเภทอักษรคำ (Logograms) ใช้ร่วมกับตัวอักษร อีก 4 ประเภท ได้แก่ ฮิรางานะ (ひらがな, 平仮名 Hiragana) คะตาคานะ (カタカナ, 片仮名 Katakana) โรมะจิ (ローマ字 Rōmaji) และตัวเลขอารบิก

คำว่า "คันจิ" หากอ่านตามเสียงภาษาจีนกลางจะอ่านว่า "ฮั่นจื้อ" มีความหมายว่า ตัวอักษรของชาวฮั่น อันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน คำว่าภาษาจีนในภาษาจีนเอง ก็เรียกว่า ภาษาฮั่น (ภาษาจีนกลาง: 漢語, hànyǔ) เช่นกัน

เนื่องจากอักษรคันจิคืออักษรจีนที่นำมาใช้ในภาษาญี่ปุ่น อักษรคันจิหนึ่งจึงตัวอาจอ่านได้หลายแบบขึ้นอยู่กับรูปประโยค เป็นคำประสม หรือตำแหน่งคำในประโยคนั้นๆ การอ่านออกเสียงตัวอักษรคันจินั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

ตัวอย่างเช่น 泉 จากคำว่า 温泉 (onsen) มีเสียงองคือ せん (sen) ส่วนเสียงคุนคือ いずみ (izumi) มีความหมายว่าน้ำพุ อย่างไรก็ตามมีหลายคำในภาษาญี่ปุ่นที่อ่านออกเสียงไม่ตรงกับคันจิที่เขียน ซึ่งเป็นการอ่านแบบพิเศษ โดยผู้ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นจำเป็นต้องจดจำข้อยกเว้นเหล่านี้เอง เนื่องจากการใช้คันจิสื่อความหมายมากกว่าเสียง ตัวอย่างเช่น 上手 อ่านว่า じょうず (jouzu) แปลว่า เก่ง, เชี่ยวชาญ โดยประกอบจากคันจิ 2 ตัวคือ 上 หมายความว่า "ข้างบน, เหนือ" และ 手 หมายความว่า "มือ" ทั้งที่ปกติแล้ว 手 จะไม่อ่านออกเสียงว่า ず (zu)

**ตัวอักษรคันจิ 103 ตัวที่เราควรจะรู้ก่อนสอบวัดระดับ N5

พื้นฐานโดยรวมของคันจินั้นประกอบจากเส้นหนึ่งเส้น จนถึงสิบสองเส้น โดยมีตัวอักษรคันจิประมาณ 30 ตัวที่ประกอบไปด้วยเส้นเพียงแค่หนึ่งถึงสี่เส้น ซึ่งเราจะเรียนรู้มันได้ค่อนข้างง่าย นอกจากนี้อักษรหลาย ๆ ตัวนั้น เป็นการผสมรวมกันของตัวอักษรพื้นฐาน ดังนั้น ถ้าหากว่าเราพอเข้าใจพื้นฐานเบื้องต้นของตัวคันจิ เราก็สามารถเรียนรู้ระดับต่อไปได้ไม่ยาก

ตัวอักษรหนึ่งเส้น

นี่คือตัวอักษรคันจิที่มีหนึ่งเส้น

一 อิจิ ichi (いち): “หนึ่ง”

ตัวอักษรสองเส้น

อักษรคันจิทั้ง 8 ตัวนี้ ประกอบด้วยเส้นสองเส้น ดังนี้!

二 นิ ni (に) : “สอง”

七 ชิจิ shichi (しち): “เจ็ด”

八 ฮาจิ hachi (はち): “แปด”

九 คิว kyuu (きゅう): “เก้า”

十 จู juu (じゅう): “สิบ”

人 ฮิโตะ hito (ひと): “มนุษย์”

力 จิการะ chikara (ちから): “พลัง”

入 ไฮ (รุ) hai (ru) (はいる): “การเข้าถึง”

ตัวอักษรสามเส้น

เมื่อมีเส้นตัวอักษรมากขึ้น คุณก็จะรู้จักอักษรคันจิมากขึ้นด้วย อย่างน้อยก็มีจำนวนคำที่แน่นอน มีตัวอักษรคันจิ 13 ตัวที่ประกอบด้วยเส้นสามเส้น และทำให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

三 ซัน san (さん): “สาม”

千 เซ็น sen (せん): “หนึ่งพัน”

上 อุเอะ ue (うえ): “บน”

下 ชิตะ shita (した): “ล่าง”

大 โอว (กี) oo (kii) (おおきい): “ใหญ่”

小 จี (ไซ) chii(sai) (ちいさい): “เล็ก”

山 ยามะ yama (やま): “ภูเขา”

川 คาวะ kawa (かわ): “แม่น้ำ”

土 ซึจิ tsuchi (つち): “ดิน”

女 อนนะ onna (おんな): “ผู้หญิง”

子 โกะ ko (こ): “เด็ก”

口 กุจิ kuchi (くち): “ปาก”

夕 ยูว yuu (ゆう): “ตอนเย็น”


ตัวอักษรคันจิแบบรูปภาพ

อีกวิธีในการเรียนรู้ตัวอักษรคันจิก็คือ "ลองพยายามมองตัวอักษรให้เป็นภาพ" 

ยกตัวอย่างเช่น ตัวอักษรคันจิที่แปลว่า “ผู้หญิง” พยายามมองให้เป็นภาพคนที่มี “กระดูกเชิงกรานกว้าง” “อุ้มเด็กทารกอยู่” การลองจำเป็นรูปภาพในบางครั้งก็ค่อนข้างมีประโยชน์ในการช่วยให้คุณจดจำตัวอักษรได้ดียิ่งขึ้น

อักษรคันจินั้นมีที่มาจากอักษรภาพ! นอกจากนี้การอ่านตัวอักษรคันจิแต่ละตัวจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อนำไปรวมกับคำอื่น แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะถ้าเป็นตัวอักษรคันจิพื้นฐานที่มักจะถูกพบเจอบ่อย ๆ เราจะค่อย ๆ จดจำได้เอง และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การหาแรงจูงใจในการเรียนอยู่เสมอ!

มีคำกล่าวว่า “การที่มีคันจินั้นเพื่อความสะดวก” บางคนถึงกับร้องออกมาเลยว่า “มันสะดวกอย่างไร.... เส้นก็ยุ่งเหยิง เขียนก็ยาก” เขียนแค่ฮิรางานะไม่พอเหรอ? ไม่ง่ายกว่าเหรอ?
จริงๆ แล้วตัวอักษรคันจิทุกตัวสามารถเขียนเป็นคำอ่านด้วยอักษรฮิรางานะได้ทั้งหมด แล้วตัวอักษรฮิรางานะเองมีแค่ 46 ตัว เสียงภาษาญี่ปุ่นเองก็มีไม่กี่เสียง แต่คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นมีเยอะมาก ถ้าเราเขียนตัวอักษรฮิรางานะติดกันเป็นพรืดมันจะอ่านยากและเข้าใจยากขนาดไหน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้อักษรฮิรางานะเข้ามาร่วมด้วย
ตัวอย่างเช่น ถ้าเขียนฮิรางานะทั้งหมด
あした、わたしはともだちとしんかんせんでとうきょうへいきます。(พรุ่งนี้ฉันจะไปเกียวโตกับเพื่อนของฉัน)
OH My God. มันอะไรกันเนี่ย แบ่งวรรคตรงไหนล่ะ
แต่ถ้าใช้อักษรคันจิร่วมด้วย จะได้ประโยคที่สั้นกว่า อ่านและเข้าใจง่ายแบบนี้明日、私は友達と新幹線で東京へ行きます。
นอกจากนั้น ภาษาญี่ปุ่นยังมีคำพ้องเสียงอยู่มากมายด้วย ถ้าไม่มีคันจิ เราก็จะลำบากในการแยกความหมายของคำที่พ้องเสียง เช่นคำว่า kami髪=เส้นผม紙=กระดาษ神= เทพเจ้า
คำศัพท์ทั้ง 3คนล้วนอ่านออกเสียงเหมือนกัน แล้วเราจะรู้ความหมายได้ยังไง นั่นคือประโยชน์ของคันจิ เพราะคันจิแต่ละตัวจะกำหนดความหมายของคำๆ นั้น
เช่น わたしはかみをきります。Watashi wa kami o kirimasu.กริยาคำว่า きります แปลว่าตัด แล้วเราจะรู้ได้ไงล่ะว่า ฉันตัดผม หรือฉันตัดกระดาษ?1.私は髪を切ります。ฉันตัดผม2.私は紙を切ります。ฉันตัดกระดาษ
นี่ล่ะคือประโยชน์และความสำคัญของตัวอักษรคันจิ 
頑張ってね! じゃ、また。 
คันจิสำหรับ N5
ในการเรียนตัวอักษรคันจิ นักเรียนจะต้องใช้จินตนาการเข้ามาช่วยในการจดจำตัวอักษรต่างๆ คันจิเบื้องต้นสำหรับ N5 ถือว่าเหมาะในการจดจำ เพราะนักเรียนสามารถใช้จินตนาการ มโนภาพได้บ้างอะไรบ้าง แต่หากเป็นคำศัพท์ที่เลเวลสูงมากกว่านี้ การใส่จินตนาการลงไปก็จะยากขึ้นตามลำดับ
百(ひゃく)                 ร้อย三百(さんびゃく)        300 六百(ろっぴゃく)        600八百(はっぴゃく)        800 千(せん)                    พัน三千(さんぜん)           3,000八千(はっせん)           8,000万(まん)                    หมื่น円(えん)                    เยน (ค่าเงิน) [กลม]時 :  ___時(じ)          ......โมง何時(なんじ)                กี่โมง時間(じかん)                เวลา___時間(じかん)          ชั่วโมง 時(とき)                    ตอน 分 : __分(ふん、ぷん)…นาที 何分(なんぷん)            กี่นาที 分かります(わかります) เข้าใจ 半 : 半(はん)                ครึ่ง 午 : 午前(ごぜん)   ช่วงเช้า a.m. (前ก่อน+ 午เที่ยง)午後(ごご)            ช่วงบ่าย p.m.(後หลัง+ 午เที่ยง)  前 : 前(まえ)         หน้า, ด้านหน้า, ก่อน 後 : 後(あと)         ทีหลัง後ろ(うしろ)         ด้านหลัง 
日 : 日(ひ)               ดวงอาทิตย์/วัน 日曜日(にちようび)   วันอาทิตย์日本(にほん)            ญี่ปุ่น 日本語(にほんご)       ภาษาญี่ปุ่น 日本人(にほんじん)    คนญี่ปุ่น(มีต้นกำเนิดมาจากดวงอาทิตย์) __日(にち)            วันที่… 何日(なんにち)         วันที่เท่าไหร่ 毎日(まいにち)         ทุกวัน 月 : 月(つき)            ดวงจันทร์ 月曜日(げつようび)   วันจันทร์ __月(がつ)             เดือน….. __か月(かげつ)       เดือนที่… 先月(せんげつ)          เดือนที่แล้ว 今月(こんげつ)          เดือนนี้ 来月(らいげつ)          เดือนหน้า 毎月(まいつき)          ทุกเดือน 
火 : 火(ひ)            ไฟ 火曜日(かようび)   วันอังคาร 火山(かざん)         ภูเขาไฟ 水 : 水(みず)         น้ำ 水曜日(すいようび)วันพุธ 水田(すいでん)   นาข้าว(นาที่มีน้ำพร้อมเพาะปลูก) 木 : 木(き)           ต้นไม้ 木曜日(もくようび) วันพฤหัสบดี 本 : 本(ほん)   หนังสือ(ตัดต้นไม้ไปทำหนังสือ ตัดต้นมันแล้วเหลือแต่ตอ แปลว่าต้นตอ ต้นกำเนิดได้ด้วย) 山本(やまもと)    ยามาโมโตะ(ชื่อสกุลของญี่ปุ่น) 日本(にほん)       ญี่ปุ่น 休 : 休みます(やすみます)    หยุด/พักผ่อน(人คน+木ต้นไม้ คนพักผ่อนที่ใต้ต้นไม้) 休み(やすみ)            วันหยุด(คำนาม) 体 : 体(からだ)       ร่างกาย (人คน+本ต้นกำเนิด : ต้นกำเนิดของคน ตัวหลักก็คือร่างกาย) 金 : 金(きん)            ทอง お金(かね)               เงิน (เงินทอง)金曜日(きんようび)   วันศุกร์ 土 : 土(つち)            ดิน พื้นดิน 土曜日(どようび)      วันเสาร์ 週                             สัปดาห์ 先週(せんしゅう)     สัปดาห์ที่แล้ว 今週(こんしゅう)    สัปดาห์นี้ 来週(らいしゅう)    สัปดาห์หน้า 毎週(まいしゅう)    ทุกสัปดาห์ 年  : 年(とし)         ปี/อายุ 年上(としうえ)       อายุมากกว่า 年下(としした)       อายุน้อยกว่า 去年(きょねん)       ปีที่แล้ว 今年(ことし)          ปีนี้ 来年(らいねん)       ปีหน้า 毎年(まいとし)       ทุกปี __年(ねん)          …ปี 何年(なんねん)      กี่ปี 
何 : 何(なん、なに)    อะไร 先 : 先(さき)             ก่อน/ก่อนหน้า 先生(せんせい)     ครู/อาจารย์(ผู้ซึ่งเกิดก่อน เกิดก่อนนักเรียนไง) 生 : 学生(がくせい)      นักเรียน(ผู้เกิดมาเรียน) 生まれます(うまれます)เกิด 生(なま)                     สด/ดิบ 学 : 大学(だいがく)มหาวิทยาลัย(大ใหญ่+ 学เรียน) 学びます(まなびます)   เรียน 校 : 学校、小学校(しょうがっこう) โรงเรียน中学校(ちゅうがっこう) มัธยมต้น高校(こうこう)             มัธยมปลาย今 : 今(いま)   ตอนนี้ : เป็นตัวประกอบของคำบอกเวลาหลายๆคำเลย อนโยมิจะอ่านว่า こん 父 : 父(ちち)   พ่อ(ของตัวเอง เอาไว้ตอนนินทาพ่อตัวเอง) お父さん(おとうさん)    พ่อ(ใช้เวลาพูดถึงพ่อคนอื่น+เรียกพ่อตัวเอง) 母 : 母(はは)            แม่(ของตัวเอง) お母さん(おかあさん)แม่(คนอื่น) 友 : 友(とも)、友だち(ともだち) เพื่อน 友人(ゆうじん) เพื่อน **สองคำนี้คล้ายๆกันแต่จะใช้友だちมากกว่า 行 : 行きます(いきます)     ไป 来 : 来ます(きます)           มา 帰 : 帰ります(かえります)  กลับ 
人 : 人(ひと)         คน __人(じん)         ชาว…. __人(にん)         ….คน(นับคน 3คนขึ้นไป) 何人(なんにん)     กี่คน 目 : 目(め)           ตา __ばん目(め)     ลำดับ/อันดับที่…. 見 : 見ます(みます)    ดู (ตามีขาเอาไว้ไปส่งดู) 耳 : 耳(みみ)             หู 聞 : 聞きます(ききます) ฟัง/ถาม (ประตูมีหูเอาไว้ป้องหูฟังและถาม) 口 : 口(くち)            ปาก 言 : 言います(いいます)พูด (แน่นอนปากมีไว้พูด) 話 : 話(はなし)            เรื่องเล่า/การสนทนา 話します(はなします)  พูดคุย/สนทนา (พูด+ลิ้น) 電話(でんわ)             โทรศัพท์(พูดคุยทางสายไฟ) 会話(かいわ)       บทสนทนา(มาพบเจอ+พูดคุยกัน) 読 : 読みます(よみます)อ่าน 語 : __語(ご)            ภาษา 語ります(かたります)เล่า (แบบชักแม่น้ำทั้ง五(ご) 足 : 足(あし)            เท้า 手 : 手(て)               มือ 上手(じょうず)         เก่ง(上บน+手 มือ) 下手(へた)              ไม่เก่ง(下ล่าง+ 手มือ) 
上 : 上(うえ)       บน 下 : 下(した)       ล่าง 中 : 中(なか)       ข้างใน/ตรงกลาง 中国(ちゅうごく) ประเทศจีน(จีนเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง 中 ประเทศที่อยู่ตรงกลาง,ศุนย์กลางของคันจิไงล่ะ) 外 : 外(そと)      ด้านนอก 外国(がいこく)   ต่างประเทศ(ประเทศที่อยู่ด้านนอกประเทศของตัวเอง) 右 : 右(みぎ)      ขวา 右手(みぎて)      มือขวา 左 : 左(ひだり)   ซ้าย 左手(ひだりて)   มือซ้าย 雨 : 雨(あめ)      ฝน 電 : 電        ฝนตกลงมามี….ฟ้าผ่าซึ่งมันก่อให้เกิดกระแสไฟ(เราก็ต่อมันสายไฟลงดินเอามาใช้เลย) 電気(でんき)     ไฟฟ้า 電車(でんしゃ)รถไฟฟ้า(ตรงตัวเลย 電ไฟฟ้า+車รถ) 電話(でんわ)     โทรศัพท์ 車 : 車(くるま)  รถ อนโยมิอ่านว่า しゃ 
大 : 大きい(おおきい)   ใหญ่ 大学(だいがく)            มหาวิทยาลัย 大学生(だいがくせい)   นักศึกษามหาวิทยาลัย 小 : 小さい(ちいさい)   เล็ก 小学校(しょうがっこう)ประถม1-6 少年(しょうねん)       เด็กผู้ชาย(อายุยังน้อยนั้นเอง) 多 : 多い(おおい)        เยอะ少 : 少ない(すくない)  น้อย 少し(すこし)              นิดหน่อย 新 : 新しい(あたらしい)   ใหม่ (立ยืน+木ต้นไม้+斤ขวาน : ขวานตัดต้นไม้ให้ยืนขึ้นต้นมาใหม่) 新聞(しんぶん)          หนังสือพิมพ์(新ใหม่+聞ฟัง :รับฟังสิ่งใหม่ๆ) 新車(しんしゃ)         รถใหม่ 古 : 古い(ふるい)      เก่า 長 : 長い(ながい)      ยาว 社長(しゃちょう)      ประธานบริษัท (ผู้ที่อยู่ในบริษัทมาอย่างยาว長いนานกว่าใคร) 学長(がくちょう)     อธิการบดี(มหาวิทาลัย) (คนนี้ก็เช่นกันอยู่มาอย่างยาวนาน) 高 : 高い(たかい)     สูง高校(こうこう)      โรงเรียนม.ปลาย (High School) 高校生(こうこうせい) นักเรียนม.ปลาย 安 : 安い(やすい)    ถูก (ผู้หญิงมักชอบของถูก) 白 : 白い(しろい)    สีขาว(adj) 黒 : 黒い(くろい)    สีดำ(adj) 赤 : 赤い(あかい)    สีแดง(adj) 青 : 青い(あおい)    สีน้ำเงิน(adj) 空 :そら                  ท้องฟ้า青い空(あおいそら) ท้องฟ้าเป็นสีฟ้า, ว่าง(ท้องฟ้าอันแสนว่างเปล่า) 空車(くうしゃ)       รถว่าง 
北 :北(きた)       ทิศเหนือ 南 :南(みなみ)    ทิศใต้ 東 :東(ひがし)    ทิศตะวันออก 西 :西(にし)       ทิศตะวันตก 食 :食べます(たべます)    กิน, รับประทาน รูปถ่อมตัวที่เราคุ้นเคยคือ いただきますนั้นเอง飲 :飲みます(のみます)    ดื่ม薬(くすり)を飲みます        กินยา(เมื่อก่อนยาเค้าต้มกินเป็นน้ำ)買 :買います(かいます)    ซื้อ….วันนี้มาซื้อหอย (เสียงอ่านก็เหมือนกันเลยแต่แทนแต่ตัวかเท่านั้น)買い物(かいもの)              ซื้อของ, ช็อปปิ้ง 書 :書きます(かきます)    เขียน อนโยมิอ่านว่า “しょ” 会 :会います(あいます)    พบ, เจอ 社 :社(しゃ)        สังคม, บริษัท, ศาลเจ้า 会社(かいしゃ)      บริษัท company  (ที่ที่ผู้คนมาพบกันทำงานร่วมกัน) 社会(しゃかい)      สังคม (สลับกันกับบริษัท สังคมก็คือกลุ่มคนนั้นเอง)  神社(じんじゃ)      ศาลเจ้าทางชินโต (神(かみ)พระเจ้า+社ศาลเจ้า) 魚 :魚(さかな)     ปลา 金魚(きんぎょ)      ปลาทอง 馬 :馬(うま)        ม้า 馬車(ばしゃ)        รถม้า (ตรงตัวเลย 馬ม้า+車รถ) 駅 :駅(えき)       สถานี/สถานีรถไฟ (มีส่วนประกอบของ馬ม้า ประมาณว่าเมื่อก่อนนั่งรถม้ากัน) 道 :道(みち)       ถนน 国 :国(くに)       ประเทศ 外国(がいこく)     ต่างประเทศ (外ด้านนอก+国ประเทศ)中国(ちゅうごく)   ประเทศจีน 名 :名前(なまえ)  ชื่อ (名(な)ตัวนี้ตัวเดียวก็แปลว่าชื่อ+前(まえ)  **ด้านหน้า : ชื่อเสียงเรียงนามต้องมาก่อนหน้าอะไรทั้งหมดเวลาแนะนำตัว 花 :花(はな)       ดอกไม้ 花見(はなみ)        การชมดอกไม้(ซากุระ)ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ春(はる) 花火(はなび)        ดอกไม้ไฟ (ตรงตัวเลย花ดอกไม้ + 火ไฟ)